วันพฤหัสบดีที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2559

ประวัติความเป็นมา


ในอดีตมนุษย์ได้นำวัสดุหลากหลายมาทำเป็นเสื้อเกราะ
เพื่อใช้ในการป้องกันตัวเองจากอันตราย
เมื่ออยู่ในภาวะสงครามหรือสถานการณ์ที่เสี่ยงต่ออันตราย

โดยแรกเริ่มนั้น ชุดเกราะและโล่ถูกทำขึ้นจากหนังสัตว์
จากนั้นพัฒนาเป็นเกราะไม้และเกราะโลหะ
โดยโลหะมักใช้กับร่างกายดังที่เราคุ้นเคยกันดีกับภาพบรรดาอัศวินทั้งหลายในยุคกลาง
สวมใส่ขณะออกรบ
เมื่อเวลาผ่านไปเสื้อเกราะดังกล่าวก็ใช้ไม่ได้ผลกับอาวุธสมัยใหม่
จำพวกกระสุนปืนต่าง ๆ ซึ่งในเวลานั้นสิ่งที่ป้องกันกระสุนปืนได้ดีที่สุด
คือ ที่กำบังที่มนุษย์สร้างขึ้น เช่น กำแพงหินหรืออิฐ หรือที่กำบังธรรมชาติ

มีหลักฐานบันทึกไว้ว่าเสื้อเกราะอ่อนได้ถูกใช้เป็นครั้งแรก
โดยชาวญี่ปุ่นในยุคกลาง เป็นเสื้อเกราะที่ทำจากผ้าไหม
แต่ผลจากการศึกษาพบว่าเสื้อเกราะผ้าไหมนั้น
สามารถกันได้แต่กระสุนที่มีความเร็วต่ำ (400 ฟุต/วินาทีหรือน้อยกว่า)
โดยที่ไม่สามารถกันกระสุนปืนสมัยใหม่ที่มีความเร็วเกิน กว่า 600 ฟุต/ วินาทีได้
ดังนั้นเมื่อเทียบกับค่าใช้จ่ายในการผลิตแล้วเสื้อเกราะผ้าไหมมีราคาสูงถึงตัวละ 800 ดอลลาร์สหรัฐ
(เทียบกับค่าของเงินใน ค.ศ. 1998 เท่ากับ 1,400 ดอลลาร์สหรัฐ)
ทำให้ไม่เป็นที่ยอมรับ

เสื้อเกราะกันกระสุนรุ่นต่อมาเกิดขึ้นสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2
ถูกเรียกว่า “แฟลค แจ๊กเกต” ผลิตขึ้นจากไนลอนสามารถกันสะเก็ดระเบิด
และใช้ได้ผลอย่างดีกับการคุกคามของปืนพกและปืนไรเฟิล
แต่เสื้อเกราะชนิดนี้มีข้อจำกัด คือ มีขนาดใหญ่เทอะทะและใช้ได้แต่ในวงการทหารเท่านั้น

จนกระทั่งปลายยุค 1960 ค้นพบเส้นใยสังเคราะห์ชนิดใหม่เรียกว่า เคฟล่าร์ (Kevlar) ของดูปอง
ที่สามารถใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
นับจากนั้นเสื้อเกราะถูกผลิตขึ้นจากวัสดุต่าง ๆ จากหลายบริษัท


ที่มา http://www.gunsandgames.com/smf/index.php?topic=99696.0;wap2

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น