วันพฤหัสบดีที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2559

ประวัติความเป็นมา


ในอดีตมนุษย์ได้นำวัสดุหลากหลายมาทำเป็นเสื้อเกราะ
เพื่อใช้ในการป้องกันตัวเองจากอันตราย
เมื่ออยู่ในภาวะสงครามหรือสถานการณ์ที่เสี่ยงต่ออันตราย

โดยแรกเริ่มนั้น ชุดเกราะและโล่ถูกทำขึ้นจากหนังสัตว์
จากนั้นพัฒนาเป็นเกราะไม้และเกราะโลหะ
โดยโลหะมักใช้กับร่างกายดังที่เราคุ้นเคยกันดีกับภาพบรรดาอัศวินทั้งหลายในยุคกลาง
สวมใส่ขณะออกรบ
เมื่อเวลาผ่านไปเสื้อเกราะดังกล่าวก็ใช้ไม่ได้ผลกับอาวุธสมัยใหม่
จำพวกกระสุนปืนต่าง ๆ ซึ่งในเวลานั้นสิ่งที่ป้องกันกระสุนปืนได้ดีที่สุด
คือ ที่กำบังที่มนุษย์สร้างขึ้น เช่น กำแพงหินหรืออิฐ หรือที่กำบังธรรมชาติ

มีหลักฐานบันทึกไว้ว่าเสื้อเกราะอ่อนได้ถูกใช้เป็นครั้งแรก
โดยชาวญี่ปุ่นในยุคกลาง เป็นเสื้อเกราะที่ทำจากผ้าไหม
แต่ผลจากการศึกษาพบว่าเสื้อเกราะผ้าไหมนั้น
สามารถกันได้แต่กระสุนที่มีความเร็วต่ำ (400 ฟุต/วินาทีหรือน้อยกว่า)
โดยที่ไม่สามารถกันกระสุนปืนสมัยใหม่ที่มีความเร็วเกิน กว่า 600 ฟุต/ วินาทีได้
ดังนั้นเมื่อเทียบกับค่าใช้จ่ายในการผลิตแล้วเสื้อเกราะผ้าไหมมีราคาสูงถึงตัวละ 800 ดอลลาร์สหรัฐ
(เทียบกับค่าของเงินใน ค.ศ. 1998 เท่ากับ 1,400 ดอลลาร์สหรัฐ)
ทำให้ไม่เป็นที่ยอมรับ

เสื้อเกราะกันกระสุนรุ่นต่อมาเกิดขึ้นสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2
ถูกเรียกว่า “แฟลค แจ๊กเกต” ผลิตขึ้นจากไนลอนสามารถกันสะเก็ดระเบิด
และใช้ได้ผลอย่างดีกับการคุกคามของปืนพกและปืนไรเฟิล
แต่เสื้อเกราะชนิดนี้มีข้อจำกัด คือ มีขนาดใหญ่เทอะทะและใช้ได้แต่ในวงการทหารเท่านั้น

จนกระทั่งปลายยุค 1960 ค้นพบเส้นใยสังเคราะห์ชนิดใหม่เรียกว่า เคฟล่าร์ (Kevlar) ของดูปอง
ที่สามารถใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
นับจากนั้นเสื้อเกราะถูกผลิตขึ้นจากวัสดุต่าง ๆ จากหลายบริษัท


ที่มา http://www.gunsandgames.com/smf/index.php?topic=99696.0;wap2

ความหมายของเสื้อเกราะ

ความหมายของเสื้อเกราะ

เสื้อเกราะ หรือเสื้อเกราะกันกระสุน หมายถึง

เสื้อหรือสิ่งใด ๆ ที่ผลิตหรือประกอบรวมขึ้นด้วยแผ่นเกราะ เพื่อป้องกันหรือ
ลดอันตรายจากกระสุนปืนที่ยิง บริเวณลำตัวของผู้ที่สวมใส่

ส่วนประกอบของเสื้อเกราะนั้น โดยทั่วไปจะประกอบด้วย 3 ส่วนหลัก คือ
เสื้อนอก (Outside Shell Carrier)
เป็นส่วนที่ใช้สำหรับรับแรงกระแทกอาจจะมีส่วนที่ใช้แผ่นเหล็ก หรือเซรามิก
เพื่อเพิ่มความสามารถในการรับแรงกระแทก

ส่วนที่สองเรียก ว่า ส่วนยึดรั้ง (Fastening Sys- tem)
ใช้ยึดเสื้อเกราะกับร่างกายทำให้เกิดความกระชับ

และส่วนที่สาม แผ่นรับแรงกระแทก (Ballistic Panel)
ลักษณะเป็นใย ทอจากใยสังเคราะห์ เมื่อถูกแรงกระแทกจะเกิดการยึดตัว
ช่วยดูดซับพลังงาน เพื่อลดความเร็วของกระสุนที่ผ่านเข้ามา
มีการนำวัสดุประเภทใยสังเคราะห์มาผลิตเสื้อเกราะเพิ่มมากขึ้น
เพราะมีน้ำหนักเบา และมีความแข็งแรงกว่าโลหะ

วัสดุที่ใช้ในปัจจุบัน คือ เส้นใย อะรามิด(Aramid Fiber)
เป็นเส้นใยประเภท อลิเอไมด์ หรือไนลอน
มีความแข็งแกร่ง และแข็งแรงสูง สามารถคงรูปได้ดี
ทนต่ออุณหภูมิสูงถึง 370 องศาเซลเซียส
หรืออาจจะเป็นเส้นใยโพลิเอทิลีน
ชนิดความแข็งแรงสูงยิ่งยวด (Ultra High Strength Polyethylene Fiber)
เป็นเส้นใยโพลีเอทิลีน ซึ่งกระบวนการผลิตต้องใช้เทคนิคพิเศษ
ทำให้มีความแกร่ง แข็งแรง น้ำหนักเบาและราคาถูกกว่าเส้นใย อะรามิด
แต่อุณหภูมิที่ใช้งานต่ำกว่า


ที่มา http://www.gunsandgames.com/smf/index.php?topic=99696.0;wap2

มข. สร้างเสื้อเกราะรังไหมกันกระสุน ครั้งแรกของโลก



        

            
เมื่อวันจันทร์ที่ 31 สิงหาคม 2558 เวลา 10.00 น. มหาวิทยาลัยขอนแก่น จัดงานนักวิจัย มข. พบสื่อมวลชน ประจำเดือนสิงหาคม นำโดยผู้ช่วยศาสตราจารย์ดร.รัชฎา ตั้งวงค์ไชย ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายการถ่ายทอดเทคโนโลยี และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พนมกร ขวาของ อาจารย์ภาควิชาวิศวกรรมเคมี คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น และคณะทำงานร่วมกันแถลงข่าวงานวิจัยเรื่อง"โครงการวิจัยนวัตกรรมการพัฒนารังไหมใช้เป็นเกราะกันกระสุน” ทั้งนี้มีสื่อมวลชนสนใจเข้าร่วมงานจำนวนมาก ณ ห้องประชุมสิริคุณากร 4 อาคารสิริคุณากร มหาวิทยาลัยขอนแก่น
โครงการวิจัยนวัตกรรมการพัฒนารังไหมใช้เป็นเกราะกันกระสุน ได้รับแรงบันดาลใจมาจาก เหตุการณ์ความไม่สงบในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ส่งผลให้ตำรวจ ทหาร รวมถึงเจ้าหน้าที่ ได้รับอันตรายจำนวนมาก ภาควิชาวิศวกรรมเคมี คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น จึงร่วมกับอาจารย์สุธา ลอยเดือนฉาย และกลุ่มหัตถกรรมผ้าของฝากภูเวียง จังหวัดของแก่น พัฒนารังไหมให้เป็นเสื้อเกราะกันกระสุน โดยมีจุดเด่นคือเสื้อเกราะรังไหมกันกระสุนมีความยืดหยุ่น ป้องกันการยิงซ้ำ ต้านทานแรงกระแทก น้ำหนักเบา ราคาถูกกว่าเกราะกันกระสุนทั่วไปกว่า 2.5 เท่า
ผศ.พนมกร ขวาของ อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมเคมี คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่นเปิดเผยว่า รังไหมที่นำมาใช้ ใช้รังไหมที่ยังไม่ผ่านการสาวไหม หรือผ่านการสาวไหมแล้วแต่ต้องเหลือใยไหม ขั้นตอนการสร้าง นำรังไหมมาวางในแม่พิมพ์ เทเรซินชนิดพิเศษลงบนรังไหมเพื่อให้รังไหมยึดเกราะกัน อัดด้วยเครื่องไฮโดรลิค บ่มเป็นเวลา 8 ชั่วโมง เสื้อเกราะไหมกันกระสุนมีความหนาประมาณ 14-20 มิลลิเมตร และน้ำหนักโดยรวมอยู่ที่ 2.5- 4 กิโลกรัม (ขึ้นอยู่กับชนิดกระสุนและความเร็วของกระสุน) เนื่องจากคุณสมบัติของรังไหมที่มีความแข็งแรงสูงมากกว่า 4.8 จิกะปาสคาล ขึ้นไป (แต่ความแข็งแรงของเส้นไหมขณะเปียกจะลดลงร้อยละ 15-20 ของเส้นไหมแห้ง) และเส้นไหมสามารถยืดหยุ่นได้ดี สามารถยืดหยุ่นได้ตั้งแต่ร้อยละ 35 และพบว่าเส้นไหมสามารถหดตัวกลับคืนได้ถึงร้อยละ 92
จากคุณสมบัติดังกล่าวพบว่าเส้นไหมมีคุณสมบัติคล้ายคลึงกับเส้นใยเหล็ก ดังนั้นจึงนำรังไหมมาทำเป็นอุปกรณ์ป้องกันกระสุนปืน เมื่อผลิตเสื้อเกราะจากรังไหมสำเร็จ ทีมนักวิจัยจึงนำมาทดสอบกับกระสุนจริง จากการทดสอบการยิง พบว่าการทดสอบช่วงแรกพบว่า สามารถสามารถป้องกันการยิงของปืนสั้น .22 ได้ในระยะการยิง 3 เมตร เป็นการป้องกันในระดับ 1 ตามมาตรฐานของ National Institute of Justice (NIJ) นอกจากนี้เสื้อเกราะรังไหมกันกระสุนยังมีคุณสมบัติเด่น คือความยืดหยุ่นตัวสูงสามารถดูดหัวกระสุนไว้ในเกราะไม่ทำให้เกิดการแฉลบสู่บุคคลข้างเคียง สามารถต้านทางแรงกระแทกได้ดี ไม่ทำให้เกราะแตก ที่ทำให้เกิดการบอบช้ำภายในของร่างกายผู้สวมใส่จากการยุบตัวของเกราะตามแรงของกระสุน สามารถป้องกันการยิงซ้ำจากการคงรูปของเกราะที่ไม่ทำให้เกิดการเสียสภาพภายหลังการถูกยิง มีน้ำหนักเบา ราคาถูกกว่าเกราะกันกระสุนทั่วไปราว 2.5 เท่า
เมื่อมีการพัฒนาต่อเนื่องในระยะเวลา 2 ปี โดยการทำเกราะให้หนาขึ้น และมีเส้นใยพิเศษที่เสริมเข้าไป ทำให้สามารถต้านทานความเร็วของกระสุนปืนที่สูงขึ้น ผลคือสามารถทำให้เกราะมีความสามารถในการป้องกันการยิงในระดับ 3A ตามมาตรฐาน NIJ (ขนาดหัวกระสุน 9 มม. ความเร็ว 426 เมตรต่อวินาที) ทั้งนี้เสื้อเกราะไหมกันกระสุน สามารถคว้ารางวัลชนะเลิศ จากการประกวดโครงการพัฒนาภูมิปัญญาสู่นวัตกรรม ภาคอีสานตอนบน ที่จัดโดยกรมทรัพย์สินทางปัญญา ได้เป็นตัวแทนของภาคไปประกวดระดับประเทศ ซึ่งมีขึ้นในวันที่ 20 – 21 กรกฎาคม 2558 นี้
ปัจจุบันทีมผู้วิจัย ได้จดสิทธิบัตรเสื้อเกราะไหมกันกระสุนเป็นทรัพย์สินทางปัญญาของมหาวิทยาลัยขอนแก่นเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ทั้งนี้ทีมผู้วิจัยกำลังพัฒนาความหนาและน้ำหนักของเสื้อเกราะไหมกันกระสุนให้บางและเบาขึ้น ที่สามารถป้องกันกระสุนปืนในระดับ 3 ตามมาตรฐาน NIJ (ป้องกันกระสุนปืน M 16 ความเร็ว 838 เมตรต่อวินาที)เพื่อเป็นประโยชน์ต่อการรักษาความปลอดภัยแก่สังคมต่อไป


ที่มา https://www.kku.ac.th/news/v.php?q=0010240&l=th

มาตรฐาน NIJ

         
มาตรฐาน NIJ

 เป็นมาตรฐานที่เกี่ยวข้องกับเรื่องวิธีทดสอบ เกณฑ์การทดสอบ ความสามารถหรือประสิทธิภาพการป้องกันกระสุนของเสื้อเกราะที่กำหนดโดยสถาบันความเที่ยงธรรมแห่งชาติ (National Institute of Justice, NIJ) ประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งประเทศไทยและอีกหลายประเทศทั่วโลกใช้มาตรฐานสำหรับการทดสอบเสื้อเกราะป้องกันกระสุนด้วยเช่นกัน โดยมาตรฐาน NIJ แบ่งระดับความสามารถในการป้องกันกระสุนของเสื้อเกราะไว้ 6 ระดับ ดังนี้



การปกป้อง
ประสิทธิภาพ
ระดับ I
(.22 LR; .380 ACP)
เกราะ สามารถป้องกันกระสุน .22 Long Rifle น้ำหนัก 2.6 กรัม มีความเร็ว 329 ± 9.1 เมตร/วินาที (1080 ± 30 ฟุต/วินาที) และกระสุน .380 ACP หนัก 6.2 กรัม มีความเร็ว 322 ± 9.1เมตร/วินาที (1055 ± 30 ฟุต/วินาที) แต่ปัจจุบัน NIJ ได้ยกเลิกการใช้มาตรฐานการป้องกันระดับ I เนื่องจากไม่เพียงพอที่จะป้องกันกระสุนปืน
ระดับ IIA
(9 mm; .40 S&W)
เกราะสามารถป้องกันกระสุน 9 ม.ม. น้ำหนัก 8 กรัม มีความเร็ว 373 ± 9.1 เมตร/วินาที (1225 ± 30 ฟุต/วินาที) และกระสุน .40 S&W น้ำหนัก 11.7 กรัม มีความเร็ว 352 ± 9.1 เมตร/วินาที (1155 ± 30 ฟุต/วินาที) เสื้อเกราะที่มีมาตรฐานระดับนี้สามารถป้องกันกระสุนปืนระดับ I ได้
ระดับ II
(9 mm; .357 Magnum)
เกราะสามารถป้องกันกระสุน 9 ม.ม. น้ำหนัก 8 กรัม มีความเร็ว 398 ± 9.1 เมตร/วินาที (1305 ± 30 ฟุต/วินาที) และกระสุน .357 Magnum น้ำหนัก 10.2 กรัม มีความเร็ว 436 ± 9.1 เมตร/วินาที (1430 ± 30 ฟุต/วินาที) เสื้อเกราะที่มีมาตรฐานระดับนี้สามารถป้องกันกระสุนปืนระดับ I และ IIA ได้ด้วย
ระดับ IIIA
(.357 Sig; .44 Magnum)
เกราะสามารถป้องกันกระสุนขนาด .357 SIG หนัก 8.1 กรัม มีความเร็ว 448 ± 9.1 เมตร/วินาที (1470 ± 30 ฟุต/วินาที) และกระสุนขนาด .44 Magnum หนัก 15.6 กรัม มีความเร็ว 436 ± 9.1 เมตร/วินาที (1430 ± 30 ฟุต/วินาที) เสื้อเกราะตามมาตรฐานนี้สามารถป้องกันกระสุนปืนระดับ I, IIA และ II ได้ด้วย
ระดับ III
(Rifles)
เกราะสามารถป้องกันกระสุนขนาด 7.62x51 ม.ม. NATO M80 ball หนัก 9.6 กรัม มีความเร็ว 847 ± 9.1 เมตร/วินาที (2780 ± 30 ฟุต/วินาที) ซึ่งเสื้อเกราะตามมาตรฐานนี้สามารถป้องกันกระสุนปืนระดับ I, IIA, II และ IIIA ได้ด้วย
ระดับ IV
(Armor Piercing Rifle)
เกราะสามารถป้องกันกระสุนเจาะเกราะ .30-06 Springfield M2 หนัก 10.8 กรัม มีความเร็ว 878 ± 9.1 เมตร/วินาที (2880 ± 30 ฟุต/วินาที) ซึ่งเสื้อเกราะระดับนี้สามารถป้องกันกระสุนปืนระดับ I, IIA, II, IIIA และ III ได้ด้วย



ที่มา https://www.mtec.or.th/academic-services/mtec-knowledge/965-

นวัตกรรมเสื้อเกราะกันกระสุน โดยฝีมือนักวิจัยไทย


re2555-112


          รูปแบบการก่อการร้ายในปัจจุบันส่วนใหญ่เป็นการปฏิบัติการลักษณะกองโจร และการรบนอกแบบ จึงทำให้มาตรการการป้องกันและการตอบโต้ด้วยความรวดเร็วมีความสำคัญ และการใช้อุปกรณ์เกราะป้องกันเป็นมาตรการหนึ่งที่กองทัพสนใจพัฒนาประกอบกับบริษัทพรีซีพาร์ท จำกัด มีความคิดริเริ่มที่จะพัฒนาแผ่นเกราะป้องกันเพื่อใช้ประกอบเป็นเสื้อเกราะหรืออุปกรณ์เกราะป้องกันอื่น ๆ แต่ผลิตภัณฑ์ของบริษัทส่วนใหญ่ต้องใช้ประสบการณ์และการลองผิดลองถูกสูง ทำให้บริษัทตระหนักถึงการจัดการองค์ความรู้และการจัดระบบงานวิจัย ดังนั้นสำนักงำนกองทุนสนับสนุนการวิจัย กรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกลาโหม และบริษัทพรีซีพำร์ท จำกัด จึงร่วมกันสนับสนุนโครงการวิจัยและพัฒนา “การวิจัยและพัฒนาเกราะป้องกันกระสุนปืนพกทุกขนาดและกระสุนปืนเล็กยาวที่เป็นอาวุธสงคราม” โดยมีพลเอกอภิชาติ ทิมสุวรรณ เป็นหัวหน้าโครงการ (อดีตดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการกรมวิทยาศำสตร์และเทคโนโลยีกลาโหม)


ที่มา   http://www.trf.or.th/index.php?option=com_content&view=article&id=4519:2014-06-11-11-06-22&catid=60&Itemid=210